ປະຫວັດຕ່າງໆ

แสดงเพิ่มเติม

ເມືອງພວນ ແຂວງຊຽງຂວາງ

 

ເມືອງພວນ ແຂວງຊຽງຂວາງ ມີຊື່ເຕັມວ່າ ມະຫາຣັຕນະບູຣີຣົມ ພົມມະຈັກກະພັຕິ ສິມຫານັກຄະຣະ ຕັກກະເສລາ ນະຄຣຊຽງຂວາງ ຣາຊທານີ.

ຕາມບັນທຶກຂອງພະຍາ ດຳຣົງຣິທິໄກ ໃນເດືອນ ມີນາ 1951 ວ່າ ເມືອງຊຽງຂວາງ ມີວັດທັງຫມົດ 96 ວັດ ໂດຍຍັງແຕ່ 2 ວັດຄືວັດ ເພັຍວັດ ແລະ ວັດ ສຼີພົມ, ໃນເມືອງມີ ພູຈອມເພັດ ຕັ້ງຢູ່ກາງເມືອງ ສູງປະມານ 100 ມ, ມີທາດ 2 ລູກ ຄື ທາດ ພູຈອມເພັດ ແລະ ທາດຝຸ່ນ.
 
 














พวน คือคำเดียวกับคำว่า พูน หรือ โพน หมายถึงบริเวณที่ราบสูง

ชาวพวน หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาในตระกูลไทย-ลาว มีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่ที่เมืองพวน ใกล้ทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว

มีตำนานเกี่ยวกับเมืองพวนในพงศาวดารล้านช้าง และนิทานเรื่องขุนบรมราชา สรุปความโดยย่อว่า ขุนบรม (ขุนบูลม) มีลูกชายเจ็ดคน แยกย้ายกันไปสร้างเมืองต่างๆ

คนโตคือ ขุนลอ ไปสร้างเมืองหลวงพระบาง หรือเมืองชวา

คนที่ห้าชื่อ งัวอิน ไปสร้างเมืองอโยธยา

คนที่เจ็ดชื่อ เจ็ดเจิง หรือ เจ็ดเจือง ให้ไปสร้างเมืองพวน หรือเมืองเชียงขวาง

เมืองพวนมีอาณาเขตติดต่อกับหลวงพระบาง เป็นมิตรต่อกัน ดังปรากฏในตำนานเมืองพวนว่า

ขุนลอกับเจ็ดเจืองผู้น้องตกลงแบ่งเขตแดนหลวงพระบางกับเขตแดนเมืองพวนไว้ต่อกัน คือเขตแดนเมืองพวนอยู่ทางด้านตะวันออก ซึ่งเป็นแขวงเมืองเชียงขวางเวลานี้

(
























ราชอาณาจักรลาว ของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์)

ชาวพวนมีสำเนียงการพูดที่ต่างจากชาวหลวงพระบางเล็กน้อย และพวกชาวเวียงจันในปัจจุบันก็มาจากเมืองพวน ชาวพวนเคลื่อนย้ายไปทางสองฝั่งโขง บริเวณเวียงจันถึงอีสานเหนือมานานแล้วหลายร้อยปี และยังมีบางกลุ่มเคลื่อนย้ายลงไปทางภาคกลางแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา แล้วยังถูกกวาดต้อนในคราวศึกเจ้าอนุเวียงจัน สมัยรัชกาลที่ 3 ลงไปตั้งบ้านเรือนอยู่แถบนครนายก ปราจีนบุรี จนถึงฉะเชิงเทรา กระทั่งหลังศึกเจ้าอนุ คนพวนในลาวก็ยังทยอยอพยพมายังฝั่งไทย เพราะได้ข่าวจากวงศ์วานว่านเครือในฝั่งนี้ว่าทำมาหากินดี คนลาวบางกลุ่มยังอพยพไปยังชลบุรีแถบพนัสนิคมอีกด้วย หนังสือประวัติศาสตร์เมืองพวน แปลจากต้นฉบับภาษาลาว เขียนโดยเจ้าคำหลวง หน่อคำ ประธานราชวงศ์พวน ซึ่งปัจจุบันมีถิ่นพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริการงานเขียนนี้แปลเป็นภาษาไทยโดย พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร ตรวจทานโดย สมชาย นิลอาธิ และมี สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการ

สำนวนแปลหนังสือเล่มนี้มีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่พยายามแปลทุกถ้อยคำให้เป็นภาษาไทยอย่างหมดจด แต่ยังคงถ้อยความสำนวนลาวแบบในภาษาเดิมไว้ด้วย เช่น มีการใช้คำว่า ปึ้ม (หนังสือ) บะบาน (บนบาน) และ ซอก (ค้นหา) เป็นต้น โดยมีเชิงอรรถอธิบายไว้อย่างครบถ้วนหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพวนมีความน่าสนใจ ตรงที่เขียนขึ้นจากมุมมองของชาวพวนเอง ดังนั้นมุมมองและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จึงไม่เป็นไปในด้านที่เราเคยรับรู้มาก่อน เช่นกรณีเจ้าอนุเวียงจัน ที่ทางประวัติศาสตร์ไทยเขียนว่า ถูก เจ้าน้อย ผู้ซึ่งเป็นลูกเขย จับตัวส่งให้กองทัพสยาม เจ้าคำหลวง หน่อคำ ได้ยกข้อมูลบันทึกประวัติศาสตร์ที่เขียนโดยชาวลาวหลายฉบับออกมาเปรียบเทียบกัน และพบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

เจ้าคำหลวง เขียนอธิบายประวัติศาสตร์ลาวที่เขียนโดยฝ่ายไทยตอนนี้ไว้ว่า

การที่ประวัติศาสตร์ไทยได้เขียนว่า เจ้าน้อยได้จับเจ้าอนุส่งให้แก่ไทยนั้น มันแม่นจิตศาสตร์การเมืองของไทย ซึ่งยามใดก็อยากให้ลาวเรามีความวุ่นวายทางด้านจิตศาสตร์ ให้ระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ให้มีปมด้อยทางด้านจิตใจชั่วชีวิตนิรันดร์ เพราะยามใดไทยก็เว้าว่า ไอ้ลาวตาขาว, ไอ้ลาวโง่ข้อวินิจฉัยที่ผ่านมา ไทยบ่เคยยกย่อง หรือให้เกียรติแก่ลาวสักด้านหนึ่งเลย

นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังกล่าวถึงประวัติศาสตร์การเมืองลาว ช่วงตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส และครอบคลุมไปถึงช่วงเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองมาเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

ตัวอย่างหัวข้อต่างๆ ที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์เมืองพวน มีดังนี้

ประวัติความเป็นมาของไหหิน หรือไหเหล้าเจือง / เหง้าตระกูลของราชวงศ์ลาวพวน / ลำดับกษัตริย์แห่งอาณาจักรพวน และผู้สืบสายสกุล / การแบ่งประเทศล้านช้าง ในปี ค.ศ. 1707

อุปสรรคที่พาให้เจ้าอนุบ่สำเร็จการกู้ชาติ / เหตุผลและเหตุการณ์ที่พาให้ลาวเป็นเมืองขึ้นของไทย / เหตุการณ์ที่พาให้ลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส / การอวสานของสถาบันราชวงศ์ล้านช้างร่มขาวเจ้าคำหลวงเขียนประวัติศาสตร์เมืองพวนด้วยท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งในคำนำว่า ในการเรียบเรียงประวัติศาสตร์ครั้งนี้

เห็นว่าออกจะหลีกออกจากความบ่ครบถ้วน ความขาดตกบกพร่องตลอดถึงความบ่ละเอียดในหลายๆ ตอนก็เป็นได้ จึงขอให้นักปราชญ์ นักเรียนรู้และนักค้นคว้าทั้งหลาย จงได้ให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย พร้อมเดียวกันนี้ ก็ขอความกรุณาจากบรรดาท่านทั้งหลายอีก จงได้เพิ่มเติมวรรคตอนที่ขาดบกพร่องเข้าใส่ เพื่อเฮ็ดให้ปึ้มหัวนี้ มีความอุดมสมบูรณ์และครบถ้วนฮั่งมีด้วยข้อมูลต่างๆ ด้วยเทิ้น

Crd:
http://www.oknation.net/blog/insanetheater/2013/01/21/entry-1

ความคิดเห็น